วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เลสิค เลสิก LASIK ...มองเห็นได้โดยไร้แว่น-คอนแทคเลนส์

LASIK Laser Vision International LASIK Center

เลสิค LASIK ...มองเห็นได้โดยไร้แว่น-คอนแทคเลนส์

เบื่อการใส่แว่น ไม่แน่ใจในการใส่คอนแทคเลนส์ อีก 1 วิธีที่สามารถทำให้การมองเห็นกลับมาชัดเหมือนเดิมก็คือการทำเลสิค LASIK

การทำเลสิค (LASIK หรือ Laser In-Situ Keratomileusis) เป็นวิธีการแก้ไขสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง โดยจะมีขั้นตอนหลักๆ 2 ขั้นตอนคือ

การแยกชั้นกระจกตา โดยอาศัย เครื่องมือแยกชั้นกระจกตา ซึ่งอาจทำโดยใบมีดขนาดเล็กที่เรียกว่า Microkeratome หรือใช้เครื่องเลเซอร์ชนิดใหม่ เรียก femtosecond laser มาใช้ในการแยกชั้นกระจกตาก็ได้ 

การแก้ไขค่าสายตาโดย excimer laser โดยหลังจากทำการแยกชั้นกระจกตาแล้ว แพทย์จะใช้เอ็กไซเมอร์เลเซอร์ในการปรับเปลี่ยนความโค้งของกระจกตา ให้ได้ความโค้งที่เหมาะสมกับความยาวของลูกตา โดยลักษณะการยิงเลเซอร์จะเป็นในรูปแบบใด ก็ขึ้นอยู่กับค่าสายตาของผู้ป่วย มุ่งหวังเพื่อให้กำลังการรวมแสงตกลงที่จุดรับภาพพอดี สามารถมองเห็นภาพได้ชัดเจน หลังจากยิงเลเซอร์เสร็จแล้วก็จะปิดฝากระจกตาที่ถูกแยกชั้นออก กลับเข้าไปอยู่ที่เดิมโดยฝากระจกตาจะสามารถสมานได้โดยไม่ต้องมีการเย็บแผล

การกลับมามองเห็นหลังการทำเลสิค LASIK นั้นค่อนข้างรวดเร็ว หลังทำเสร็จทันทีผู้ป่วยสามารถมองเห็นได้ แต่จะยังไม่ชัดมาก แพทย์จะนัดมาตรวจหลังทำผ่าตัดในวันรุ่งขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการมองเห็นที่ค่อนข้างชัดเจน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการสมานแผลของแต่ละคน

ก่อนจะทำเลสิค LASIK จะต้องมีการประเมินสภาพตาอย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์ 
โดยวิธีการเตรียมตัวเข้ารับการตรวจสภาพตา มีดังนี้ 

1. ถอดคอนแทคเลนส์ล่วงหน้า ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์แบบนิ่ม ควรถอดล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน และผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์แบบแข็งควรถอดล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน

สาเหตุที่ต้องถอดคอนแทคเลนส์นั้น เนื่องจากเมื่อใช้คอนแทคเลนส์ไประยะหนึ่ง ความโค้งของกระจกตาจะเปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้ค่าสายตาเปลี่ยนไปจากความจริง ด้วยการถอดคอนแทคเลนส์จะทำให้กระจกตาคืนรูปตามธรรมชาติ ทั้งนี้เพื่อความแม่นยำในการตรวจวัด

2. เตรียมตัวเข้ารับการตรวจสภาพตา โดยขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 ชั่วโมง 
วัดความความโค้งและความหนาของกระจกตาด้วยเครื่องมือพิเศษ เช่น orbscan, opdscan

- วัดขนาดรูม่านตาด้วย Infrared Pupillometer
- วัดค่าความผิดปกติของสายตาด้วยเครื่อง Auto Refractometer 
- วัดค่าความผิดปกติของสายตาโดยละเอียดก่อนขยายม่านตา 
- หยอดยาขยายม่านตา (ซึ่งจะมีผลทำให้การมองเห็นไม่ชัด และสู้แสงจ้าไม่ได้ ) 
- วัดค่าความผิดปกติของสายตาโดยละเอียดหลังขยายม่านตา 
- ตรวจและประเมินสภาพตาอย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์

3. ควรนำเพื่อนหรือญาติมาด้วย เนื่องจากการตรวจสภาพสายตานั้นจะมีการหยอดยาขยายม่านตาด้วย ซึ่งจะทำให้การมองเห็นไม่ชัด และสู้แสงจ้าไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถขับรถกลับบ้านเองได้ และควรนำแว่นกันแดดมาด้วย 

ในตอนหน้า เราจะมาคุยกันถึงขั้นตอนการเตรียมตัวในการทำเลสิค LASIK และการดูและหลังผ่าตัดกันนะคะ.......


ข้อมูล: โดย พญ.ธารินี เสงี่ยมพรพาณิชย์ 
From : LASIK Laser Vision International LASIK Center 
ขอบคุณข่าวจาก: ไทยรัฐออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger