วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แครอท


แครอท อยู่ในวงศ์ Apiaceae (Umbelliferae) มีถิ่นกำเนิด อยู่แถบเอเชียกลาง จนถึงทางตะวันออก ต่อมาได้เผยแพร่เข้าไปใน ยุโรป และประเทศจีน แครอทเป็นพืชสองฤดู โดยฤดูแรกเจริญทางต้น ใบ และราก ฤดูที่สองจะเจริญทางดอก และเมล็ด ลักษณะลำต้นเป็นแผ่นใบ จะเจริญจากลำต้น เป็นกลุ่มมีก้านใบยาว ประกอบด้วย เปลือกบาง(Periderm) และส่วนของเนื้อ(Cortex) ซึ่งประกอบด้วยท่ออาหาร และเป็นแหล่งเก็บ อาหารสำรอง ส่วนใหญ่อยู่ในรูป ของน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ 45-65% ของหัว เนือสีขาว เหลือง ส้ม แดง ม่วงและดำ ส่วนของแกน(inner core) ประกอบด้วย ท่อน้ำ(xylem) และแกน(pith) แครอท สายพันธุ์ที่มีคุณภาพสูง จะมีแกนขนาดเล็ก และมีสีเดียว กับเนื้อหรือมีส่วนของเนื้อ มากกว่าส่วนของแกน การปลูกฤดูที่สองเพื่อผลผลิตเมล็ดพันธุ์ลำต้นจะยืดตัว สร้างก้านดอกยาว 2-4 ฟุต บนยอดมีช่อดอก ซึ่งช่อแรกจะเจริญ จากส่วนกลางของลำต้น ต่อจากนั้นช่ออื่นๆ จะเจริญตาม การผสมเกสรจะเป็น แบบผสมข้าม ส่วนใหญ่ แมลงเป็นตัวช่วยผสมเกสร


การใช้ประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร

แครอท เป็นพืชที่อุดมไปด้วยสาร Beta carotene โดยเฉพาะบริเวณส่วนของเปลือกแก่ ซึ่งสามารถเปลี่ยน เป็นวิตามินเอสูง (11,000 IU) นอกจากนี้ยังมีวิตามินบี 1 บี 2 และวิตามินบี วิตามินเอ ช่วยทำให้ร่างกาย มีภูมิต้านทานโรคหวัด ป้องกันมะเร็ง ป้องกันอาการผิดปกติ ในกระดูก โรคผิวหนัง และรักษาสายตา

แครอท นิยมรับประทานสด ในสลัด หรือนำมาประกอบอาหารชนิดอื่นๆ เช่น ผัด ต้มซุป ใส่แกงจืด ใช้ทำส้มตำแบบมะละกอ คั้นสดรับประทาน เป็นน้ำเพื่อสุขภาพ และช่วยเพิ่มสีสรรในจานอาหาร

"แครอต" มีสารต้านมะเร็งอยู่ในตัวของมัน แต่ว่าถ้าหากเราไม่รู้จักวิธีที่จะนำมารับประทานให้ถูกต้อง แครอตก็ไม่แตกต่างจากผักอื่นๆ ค่ะ


ล่าสุดมีรายงานข่าวบอกว่า นักวิจัยแนะนำอย่าหั่นแครอตเป็นชิ้นๆ ก่อนปรุงอาหาร เพราะจะสูญเสียประสิทธิภาพของสารต้านมะเร็งที่อยู่ในแครอต

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล พบว่า หากนำแครอตมาต้มก่อนหั่นเป็นชิ้น แครอตจะมีสาร "ฟอลคารินอล" ซึ่งเป็นสารต้านมะเร็ง มากกว่าหั่นเป็นชิ้นก่อนนำไปต้มถึง 25% สารฟอลคารินอลมีประโยชน์ในการต้านเซลล์มะเร็ง เพราะจากการทดลองกับหนูที่ให้กินสารชนิดนี้พบว่ามีพัฒนาการของเนื้อร้ายลดลง ซึ่งผลการศึกษาจะเสนอต่อที่ประชุมโภชนาการและสุขภาพที่ประเทศฝรั่งเศส

ดร.เคอร์สเทน แบรนด์ท หัวหน้านักวิจัยจากคณะเกษตร อาหารและการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล กล่าวว่า การหั่นแครอตเป็นชิ้นเพิ่มพื้นที่ผิว ซึ่งจะทำให้สารอาหารถูกกรองทิ้งลงไปรวมกับน้ำในขณะประกอบอาหาร แต่ถ้าต้องการให้สารอาหารเหล่านี้ยังคงมีอยู่อย่างเต็มที่ ก็จะต้องหั่นเป็นชิ้นหลังปรุงเสร็จแล้ว

นักวิจัยระบุว่า หนูทดลองที่กินอาหารซึ่งประกอบด้วยแครอต หรือสาร "ฟอลคารินอล" จะมีโอกาสน้อยลงถึง 30% ที่เนื้อร้ายจะพัฒนาเป็นมะเร็งอย่างเต็มที่

นักวิจัยบอกด้วยว่า แครอตเมื่อถูกทำให้ร้อน ความร้อนจะฆ่าเซลล์ ทำให้สูญเสียความสามารถที่จะเก็บน้ำไว้ภายใน แต่สาร "ฟอลคารินอล" จะมีความเข้มข้นขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความร้อนทำให้ผนังเซลล์แครอตอ่อนนุ่ม ทำให้สารอาหารที่สามารถละลายได้ในน้ำ เช่น น้ำตาลและวิตามินซีสูญเสียไปทางพื้นผิวของเนื้อเยื่อ เช่นเดียวกับ "ฟอลคารินอล" ก็จะถูกกรองทิ้งออกไปด้วย และถ้าเราหั่นแครอตก่อนนำมาประกอบอาหารก็จะยิ่งเพิ่มพื้นที่หน้าตัดของเนื้อเยื่อ การสูญเสียสารอาหารก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น.

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

http://thaipost.net/tabloid/210609/6546

Back

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger