วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กระเจี๊ยบเขียว




ชื่อสามัญ : Okra

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Abelmoschus esculentus Linn.

ชื่ออื่นๆ : Lady’s Finger ส่วนประเทศอินเดียเรียกว่า บินดี (bhindi) ประเทศแถบทะเลเมดิเตอร์เรเรียนเรียกว่า บามี (bamies) ภาคกลางเรียกว่า กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบมอญ มะเขือทะวาย มะเขือมอญ ภาคเหนือเรียกว่า มะเขือพม่า มะเขือขื่น มะเขือมอญ มะเขือละโว้

กระเจี๊ยบ เขียวเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นและใบมีขนหยาบ ใบเป็นใบเดี่ยวรูปฝ่ามือเรียงสลับดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง โคนกลีบด้านในสีม่วงแดง ก้านชูอับเรณูติดกันเป็นหลอด ฝักกระเจี๊ยบรูปทรงยาวรีสีเขียว คล้ายกับนิ้วมือผู้หญิง ฝรั่งจึงเรียกว่า “lady’s finger” ตาม ฝักมีขนอ่อนๆ ปกคลุมทั่วฝัก มีสันเป็นเหลี่ยมตามยาว 5 เหลี่ยม ฝักอ่อนเนื้อกรอบ รสหวานเล็กน้อย ฝักแก่เนื้อเหนียว มีเมล็ดสีขาวเรียงกันอยู่ภายใน 5 แถว

คุณค่าทางอาหาร : ฝัก กระเจี๊ยบ 100 กรัม ให้พลังงาน 26 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย แคลเซียม 11 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 2 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม เบต้า-แคโรทีน 335 ไมโครกรัม วิตามินเอ 56 IU. ไนอาซิน 1.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 14 มิลลิกรัม เส้นใย 0.8 กรัม

ฤดูกาล : กระเจี๊ยบให้ฝักตลอดปี

แหล่งปลูก : นครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร สุพรรณบุรี พิจิตร กาญจนบุรี ราชบุรี ระยอง และนครนายก

การกิน : ฝักอ่อนและยอดอ่อนนำมาปรุงอาหารประเภทแกง เช่น แกงกะทิ แกงเลียง แกงจืด ต้มจิ้มน้ำพริก ชุบแป้งทอด ยำ ใส่สตู ซุป หรือย่างจิ้มซอส

คุณประโยชน์, สรรพคุณ

กระเจี๊ยบมีสารเมือกลื่นพวกเพ็กติน (pectin) และกัม (gum) ช่วยเคลือบกระเพาะอาหารและลำไส้ ป้องกันแผลในกระเพาะไม่ให้ลุกลาม รักษาความดันโลหิตให้เป็นปกติ บำรุงสมอง เป็นยาระบายและแก้โรคพยาธิตัวจี๊ด แต่ต้องกินกระเจี๊ยบติดต่อกันอย่างน้อย 15 วัน ฝักแห้งป่นกินเป็นยารักษาโรคกระเพาะอาหารได้

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานเทคโนโลยี SMEs (University Technology Office for SMEs).
King Mongkut’s University Technology Thonburi.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Powered By Blogger